จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

พุทธศาสนาสอน


 สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ต้องรู้ก่อนสิ่งใดๆ  คือ รู้อริยสัจ ๔   ๑.ทุกข์ ทุกข์เป็นอย่างไรควรรอบรู้  ๒.สมุทัย  เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์  ๓.นิโรธ  ความดับแห่งทุกข์  ๔.มรรค  ทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์(มรรค๘)
               
                              ความเกิดและความดับแห่งสติปัฏฐาน 
               ความเกิดแห่งกายย่อมมี        เพราะ  ความเกิดแห่งอาหาร
                   ความดับแห่งกายย่อมมี          เพราะ  ความดับแห่งอาหาร
                 ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี        เพราะ ความเกิดแห่งผัสสะ
                 ความเกิดแห่งจิตย่อมมี              เพราะ ความเกิดแห่งนามรูป
                 ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี          เพราะ ความเกิดแห่งมนสิการ
                 ความดับแห่งธรรมย่อมมี            เพราะ ความดับแห่งมนสิการ



พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอก ของโลก
พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของชาวพุทธทั้งหลาย
       ชาวพุทธทั้งหลายต้องศรัทธาเชื่อมั่น  ในคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นอันดับหนึ่ง   เป็นสรณะ  เป็นที่พึ่งที่ระลึก  เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสัจธรรม จริงแท้ มีเหตุมีผล เช่นเดียวกันกับระบบของวิทยาศาสตร์  พุทธศาสนาบอกสัจธรรม ความจริงของธรรมชาติ  และพุทธศาสนาบอกวิธีปฏิบัติ เพื่อให้นำความรู้จากความจริง มาใช้ประโยชน์
      สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสบ่อย ปฏิบัติบ่อย  เราชาวพุทธทั้งหลายควรปฏิบัติตามก่อน  เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้ปฏิบัติตามย่อมเกิดผลดีแก่ตนเองแน่นอน   จะพ้นทุกข์   และมีสุขแท้จริง 

สิ่งที่พระพุทธเจ้าสวด สาธยายบ่อย    คือ  กฏอิทัปปัจจยตา  และ ปฏิจจสมุปบาท สายเกิด    ปฏิจจสมุปบาทสายดับ  และอาปานสติการรู้ลมหายใจเข้า  การรู้ลมหายใจออก   ผู้ใดทำบ่อย ทำมาก  มีความสุขทางใจที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง  พ้นทุกข์ได้จริง  

พุทธศาสนาสอนไว้ว่า   สิ่งทั้งหลายเป็นระบบธรรมชาติอันเดียวกัน  เป็นไปตามเหตุปัจจัย มีความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผล อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นก็กระทบกันหมด มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้จึงประเสริฐ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มนุษย์ที่ฝึกตนดีแล้วย่อมประเสริฐสุด...    พุทธศาสนาบอกสัจธรรมความจริง...  และ พุทธศาสนาก็บอก การนำความรู้จากความจริงไปใช้ประโยชน์   ตัวอย่างเช่น  ตนเป็นที่พึงแห่งตน   นี้คือ พุทธศาสนาบอกสัจธรรมความจริง  และ พุทธศาสนาบอกวิธีปฏิบัติ  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้จะต้อง  เพียรฝึกตนให้มีปัญญามีความรู้ความสามารถ ย่อมเป็นที่พึ่งได้แท้จริง ทำตนให้เป็นที่พึงได้แท้จริง 
      
   เหตุปัจจัย ที่ทำให้ความเพียรมีผล  ความพยายามมีผล
ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ ทับถม ๑.      ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ๑. 
ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์... ไม่ละสุขที่ชอบธรรม... แม้สุขที่ชอบธรรมก็ไม่ติดเพลิน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น