จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

พุทธศาสนาสอน


 สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ต้องรู้ก่อนสิ่งใดๆ  คือ รู้อริยสัจ ๔   ๑.ทุกข์ ทุกข์เป็นอย่างไรควรรอบรู้  ๒.สมุทัย  เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์  ๓.นิโรธ  ความดับแห่งทุกข์  ๔.มรรค  ทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์(มรรค๘)
               
                              ความเกิดและความดับแห่งสติปัฏฐาน 
               ความเกิดแห่งกายย่อมมี        เพราะ  ความเกิดแห่งอาหาร
                   ความดับแห่งกายย่อมมี          เพราะ  ความดับแห่งอาหาร
                 ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี        เพราะ ความเกิดแห่งผัสสะ
                 ความเกิดแห่งจิตย่อมมี              เพราะ ความเกิดแห่งนามรูป
                 ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี          เพราะ ความเกิดแห่งมนสิการ
                 ความดับแห่งธรรมย่อมมี            เพราะ ความดับแห่งมนสิการ



พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอก ของโลก
พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของชาวพุทธทั้งหลาย
       ชาวพุทธทั้งหลายต้องศรัทธาเชื่อมั่น  ในคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นอันดับหนึ่ง   เป็นสรณะ  เป็นที่พึ่งที่ระลึก  เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสัจธรรม จริงแท้ มีเหตุมีผล เช่นเดียวกันกับระบบของวิทยาศาสตร์  พุทธศาสนาบอกสัจธรรม ความจริงของธรรมชาติ  และพุทธศาสนาบอกวิธีปฏิบัติ เพื่อให้นำความรู้จากความจริง มาใช้ประโยชน์
      สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสบ่อย ปฏิบัติบ่อย  เราชาวพุทธทั้งหลายควรปฏิบัติตามก่อน  เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้ปฏิบัติตามย่อมเกิดผลดีแก่ตนเองแน่นอน   จะพ้นทุกข์   และมีสุขแท้จริง 

สิ่งที่พระพุทธเจ้าสวด สาธยายบ่อย    คือ  กฏอิทัปปัจจยตา  และ ปฏิจจสมุปบาท สายเกิด    ปฏิจจสมุปบาทสายดับ  และอาปานสติการรู้ลมหายใจเข้า  การรู้ลมหายใจออก   ผู้ใดทำบ่อย ทำมาก  มีความสุขทางใจที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง  พ้นทุกข์ได้จริง  

พุทธศาสนาสอนไว้ว่า   สิ่งทั้งหลายเป็นระบบธรรมชาติอันเดียวกัน  เป็นไปตามเหตุปัจจัย มีความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผล อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นก็กระทบกันหมด มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้จึงประเสริฐ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มนุษย์ที่ฝึกตนดีแล้วย่อมประเสริฐสุด...    พุทธศาสนาบอกสัจธรรมความจริง...  และ พุทธศาสนาก็บอก การนำความรู้จากความจริงไปใช้ประโยชน์   ตัวอย่างเช่น  ตนเป็นที่พึงแห่งตน   นี้คือ พุทธศาสนาบอกสัจธรรมความจริง  และ พุทธศาสนาบอกวิธีปฏิบัติ  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้จะต้อง  เพียรฝึกตนให้มีปัญญามีความรู้ความสามารถ ย่อมเป็นที่พึ่งได้แท้จริง ทำตนให้เป็นที่พึงได้แท้จริง 
      
   เหตุปัจจัย ที่ทำให้ความเพียรมีผล  ความพยายามมีผล
ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ ทับถม ๑.      ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ๑. 
ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์... ไม่ละสุขที่ชอบธรรม... แม้สุขที่ชอบธรรมก็ไม่ติดเพลิน.

รวม Link พุทธวจน


ฟังพุทธวจน ก่อนใกล้จะตาย ไปสู่สุคติแน่นอน

พุทธศาสนาสอน

|| Googleแปลภาษา || วัดความเร็วNET || ดาวเทียมตรวจอากาศ || รูปพุทธวจน || พุทธ || VDOพุทธวจน || คำสอน  || ตรวจคำสอน || โปรแกรมCheckคำสอน ||

พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกของโลก
พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของชาวพุทธทั้งหลาย
       ชาวพุทธทั้งหลายต้องศรัทธาเชื่อมั่น  ในคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นอันดับหนึ่ง   เป็นสรณะ  เป็นที่พึ่งที่ระลึก  เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสัจธรรม จริงแท้ มีเหตุมีผล เช่นเดียวกันกับระบบของวิทยาศาสตร์  พุทธศาสนาบอกสัจธรรม ความจริงของธรรมชาติ  และพุทธศาสนาบอกวิธีปฏิบัติ เพื่อให้นำความรู้จากความจริง มาใช้ประโยชน์
      สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสบ่อย ปฏิบัติบ่อย  เราชาวพุทธทั้งหลายควรปฏิบัติตามก่อน  เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้ปฏิบัติตามย่อมเกิดผลดีแก่ตนเองแน่นอน   จะพ้นทุกข์   และมีสุขแท้จริง 

สิ่งที่พระพุทธเจ้าสวด สาธยายบ่อย    คือ  กฏอิทัปปัจจยตา  และ ปฏิจจสมุปบาท สายเกิด    ปฏิจจสมุปบาทสายดับ  และอาปานสติการรู้ลมหายใจเข้า  การรู้ลมหายใจออก   ผู้ใดทำบ่อย ทำมาก  มีความสุขทางใจที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง  พ้นทุกข์ได้จริง  

พุทธศาสนาสอนไว้ว่า   สิ่งทั้งหลายเป็นระบบธรรมชาติอันเดียวกัน  เป็นไปตามเหตุปัจจัย มีความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผล อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นก็กระทบกันหมด มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้จึงประเสริฐ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มนุษย์ที่ฝึกตนดีแล้วย่อมประเสริฐสุด...    พุทธศาสนาบอกสัจธรรมความจริง...  และ พุทธศาสนาก็บอก การนำความรู้จากความจริงไปใช้ประโยชน์   ตัวอย่างเช่น  ตนเป็นที่พึงแห่งตน   นี้คือ พุทธศาสนาบอกสัจธรรมความจริง  และ พุทธศาสนาบอกวิธีปฏิบัติ  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้จะต้อง  เพียรฝึกตนให้มีปัญญามีความรู้ความสามารถ ย่อมเป็นที่พึ่งได้แท้จริง ทำตนให้เป็นที่พึงได้แท้จริง 
      
   เหตุปัจจัย ที่ทำให้ความเพียรมีผล  ความพยายามมีผล
ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ ทับถม ๑.      ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ๑. 
ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์... ไม่ละสุขที่ชอบธรรม... แม้สุขที่ชอบธรรมก็ไม่ติดเพลิน.

พุทธวจน พระธรรม คำของพระพุทธเจ้า




 #ก่อนเชื่อสิ่งใดให้พิสูจน์ ก่อนพูดให้ยั้งคิดวินิจฉัย ก่อนทำกิจการงานใดๆคิดให้รอบคอบ #ท่านทั้งหลายเชิญพิสูจน์

         พุทวจน คือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า  นำมาปฏิบัติแล้ว สามารถพ้นทุกข์ได้จริง    โปรดพิจารณาแต่ละคำ  แต่ละประโยค   จะมีเหตุมีผล    มีหลักการ    มีความเชื่อมโยง        เพราะ        พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เป็นผู้รู้แจ้งโลก  
    () พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามจริงว่า นี้เป็นทุกข์(ทุกข์)..... นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์(สมุทัย)..... นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์(นิโรธ)..... นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์(มรรค).....ทุกข์, สมุทัย,จัดเป็นสายเกิดทุกข์..... นิโรธ,มรรค จัดเป็นสายดับทุกข์.....   รู้ความจริงในทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค   นี้เรียกว่า     ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง สัมมาทิฏฐิ 
     ( อริยะมรรคมีองค์แปด  ๑.ความเห็นถูกต้อง  ๒.ความดำริถูกต้อง  ๓.การพูดจาถูกต้อง  ๔.การงานถูกต้อง  ๕.การเลี้ยงชีพถูกต้อง  ๖.ความเพียรถูกต้อง  ๗.ความระลึกถูกต้อง  ความตั้งใจมั่นถูกต้อง...นี้เรียกว่าอริยมรรคมีองค์๘  

  (๓) สภาวะที่จิตมีกำลัง  จะเป็นดังนี้.....  เมื่อปราโมทย์แล้ว  ปีติย่อมเกิด..... เมื่อใจมีปีติ  ปัทสัทธิย่อมมี..... เมื่อมีปัทสัทธิ  ย่อมอยู่เป็นสุข..... เมื่อมีสุข  จิตย่อมตั้งมั่น

   (๔) ตัวดึงรั้งไปสู่ทุกข์ ทุกข์อย่างยิ่ง  คือ  นันทิ ความเพลิน    สาราคะ ความพอใจอย่างยิ่ง.....  เมื่อความเพลินมี  ความพอใจอย่ายิ่งย่อมมี..... เพราะความพอใจอย่างยิ่งมี  ความผูกจิตติดกับอารมณ์ย่อมมี.....  เมื่อความเพลินไม่มี  ความพอใจอย่างยิ่งย่อมไม่มี..... เพราะความพอใจอย่างยิ่งไม่มี  ความผูกจิตติดกับอารมณ์ย่อมไม่มี        อยู่ในกฏอิทัปปัจจยตาข้อที่ว่า   เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้ย่อมมี   เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ย่อมไม่มี 

                                             || ลิ้ง รวมweb พุทวจน ||

พุทธวจน พระธรรม คำของพระพุทธเจ้า


พระปัจจุบันส่วนมาก    สวดท่องแต่สิ่งที่แต่งขึ้นใหม่   


 #ก่อนเชื่อสิ่งใดให้พิสูจน์ ก่อนพูดให้ยั้งคิดวินิจฉัย ก่อนทำกิจการงานใดๆคิดให้รอบคอบ #ท่านทั้งหลายเชิญพิสูจน์

         พุทวจน คือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า  นำมาปฏิบัติแล้ว สามารถพ้นทุกข์ได้จริง    โปรดพิจารณาแต่ละคำ  แต่ละประโยค   จะมีเหตุมีผล มีหลักการ มีความเชื่อมโยง เพราะ   พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เป็นผู้รู้แจ้งโลก  
   
 () พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามจริงว่า นี้เป็นทุกข์(ทุกข์)..... นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์(สมุทัย)..... นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์(นิโรธ)..... นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์(มรรค).....ทุกข์, 
สมุทัย,จัดเป็นสายเกิดทุกข์..... นิโรธ,มรรค จัดเป็นสายดับทุกข์.....   รู้ความจริงในทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค   นี้เรียกว่า     ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง สัมมาทิฏฐิ 

     ( อริยะมรรคมีองค์แปด  ๑.ความเห็นถูกต้อง  ๒.ความดำริถูกต้อง  ๓.การพูดจาถูกต้อง  ๔.การงานถูกต้อง  ๕.การเลี้ยงชีพถูกต้อง  ๖.ความเพียรถูกต้อง  ๗.ความระลึกถูกต้อง  ความตั้งใจมั่นถูกต้อง...นี้เรียกว่าอริยมรรคมีองค์๘  

(๓) สภาวะที่จิตมีกำลัง  จะเป็นดังนี้.....  เมื่อปราโมทย์แล้ว  ปีติย่อมเกิด..... เมื่อใจมีปีติ  ปัทสัทธิย่อมมี..... เมื่อมีปัทสัทธิ  ย่อมอยู่เป็นสุข..... เมื่อมีสุข  จิตย่อมตั้งมั่น

(๔) ตัวดึงรั้งไปสู่ทุกข์ ทุกข์อย่างยิ่ง คือ  นันทิ ความเพลิน    สาราคะ ความพอใจอย่างยิ่ง.....  เมื่อความเพลินมี  ความพอใจอย่ายิ่งย่อมมี..... เพราะความพอใจอย่างยิ่งมี  ความผูกจิตติดกับอารมณ์ย่อมมี.....  เมื่อความเพลินไม่มี  ความพอใจอย่างยิ่งย่อมไม่มี..... เพราะความพอใจอย่างยิ่งไม่มี  ความผูกจิตติดกับอารมณ์ย่อมไม่มี        อยู่ในกฏอิทัปปัจจยตาข้อที่ว่า   เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้ย่อมมี   เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ย่อมไม่มี 

(๕) สัมมัปธาน ๔  ความเพียรถูกต้อง ความเพียรชอบ
๑.สังวรปธาน              เพียรระวังอกุศล  ที่ยังไม่เกิด  ไม่ให้เกิดขึ้น
๒.ปหานปธาน            เพียรกำจัด อกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว  ให้หมดสิ้นไป
๓.ภาวนาปธาน          เพียรพยามรักษา  ทำให้กุศลเกิดขึ้น  เจริญขึ้น
๔.อนุรักขนาปธาน  เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว    ไม่ให้เสื่อม
                                 นี้ เรียกว่า     ความเพียรสมบูรณ์แบบ    

                                            
 || ลิ้ง รวมweb พุทวจน ||

พุทธวจน พระธรรม คำของพระพุทธเจ้า


# พระในปัจจุบัน  ส่วนมากไม่สนใจคำสอนแท้แท้ ของพระพุทธเจ้า   สนใจแต่คำสอนที่แต่งขึ้นใหม่  # ให้พิจารณาดูใน VDOข้างล่างนี้


 #ก่อนเชื่อสิ่งใดให้พิสูจน์ ก่อนพูดให้ยั้งคิดวินิจฉัย ก่อนทำกิจการงานใดๆคิดให้รอบคอบ #ท่านทั้งหลายเชิญพิสูจน์

         พุทวจน คือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า  นำมาปฏิบัติแล้ว สามารถพ้นทุกข์ได้จริง    โปรดพิจารณาแต่ละคำ  แต่ละประโยค   จะมีเหตุมีผล    มีหลักการ    มีความเชื่อมโยง        เพราะ        พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เป็นผู้รู้แจ้งโลก  
    () พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามจริงว่า นี้เป็นทุกข์(ทุกข์)..... นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์(สมุทัย)..... นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์(นิโรธ)..... นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์(มรรค).....ทุกข์, สมุทัย,จัดเป็นสายเกิดทุกข์..... นิโรธ,มรรค จัดเป็นสายดับทุกข์.....   รู้ความจริงในทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค   นี้เรียกว่า     ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง สัมมาทิฏฐิ 
     ( อริยะมรรคมีองค์แปด  ๑.ความเห็นถูกต้อง  ๒.ความดำริถูกต้อง  ๓.การพูดจาถูกต้อง  ๔.การงานถูกต้อง  ๕.การเลี้ยงชีพถูกต้อง  ๖.ความเพียรถูกต้อง  ๗.ความระลึกถูกต้อง  ความตั้งใจมั่นถูกต้อง...นี้เรียกว่าอริยมรรคมีองค์๘  

(๓) สภาวะที่จิตมีกำลัง  จะเป็นดังนี้.....  เมื่อปราโมทย์แล้ว  ปีติย่อมเกิด..... เมื่อใจมีปีติ  ปัทสัทธิย่อมมี..... เมื่อมีปัทสัทธิ  ย่อมอยู่เป็นสุข..... เมื่อมีสุข  จิตย่อมตั้งมั่น

   (๔) ตัวดึงรั้งไปสู่ทุกข์ ทุกข์อย่างยิ่ง คือ  นันทิ ความเพลิน    สาราคะ ความพอใจอย่างยิ่ง.....  เมื่อความเพลินมี  ความพอใจอย่ายิ่งย่อมมี..... เพราะความพอใจอย่างยิ่งมี  ความผูกจิตติดกับอารมณ์ย่อมมี.....  เมื่อความเพลินไม่มี  ความพอใจอย่างยิ่งย่อมไม่มี..... เพราะความพอใจอย่างยิ่งไม่มี  ความผูกจิตติดกับอารมณ์ย่อมไม่มี        อยู่ในกฏอิทัปปัจจยตาข้อที่ว่า   เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้ย่อมมี   เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ย่อมไม่มี 

                                          || ลิ้ง รวมweb พุทวจน || || รูปพุทธวจน || 

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

ข้างล่างนี้ ไม่ใช่พุทธวจน




พระไตรลักษณ์ :
            พระไตรลักษณ์หนักหน่วงในดวงจิต    สุขุมคิดตรึกตรองให้หนักหนา   พิศเพ่งเล็งเอาพระอนัตตาเป็นไม้เท้าก้าวหน้านำหนทาง    ทุกข์ขังตั้งไว้ให้มั่นคงคอยประจงชำระคอยสะสาง    อวิชชาพาหลงกำบังทางอนิจจังแผ้วถางให้ห่างไกล    อนิจจังตั้งไว้เป็นเค้ามูลอย่าให้สูญจากจิตพิศสมัย   ตัณหาพามืดเป็นบ้าใจอนิจจังดุจประไพประทีปเทียน   กำจัดมืดโมโให้ผ่องแผ้วดังแสงแก้วชูเชิดประเสริฐเศียร   เอาสติตั้งมั่นในความเพียรจิตจำเนียรก่อสร้างในทางธรรม   พระไตรลักษณ์ตักเตือนให้บริสุทธ์ดังมงกุฎเรืองอร่ามดูงามขำ  รัศมีสีใสวิลัยล้ำคือพระธรรมเกื้อกูลจำรูญงาม   บรรดาศีลบริสุทธ์ก็พร้อมเสร็จ  ดังเกราะเพชรสวมใส่ในสนาม   จะป้องกันอวิชชาสง่างามจะพาข้ามเขตกิเลสมาร    หัตถะประซ้ายทรงพระขันธ์อัเรืองศรี   คือขันติอดใจในสงสาร    สำหรับฆ่าพยาบาทให้ขาดกาม   พยามารพ่ายแพ้เพราะขันติ   หัตถะประขวาทรงคว้าอักธะราวุธอันบริสุทธ์สดใสจำเริญศรี   เมตตาพาจิตให้เปรมปรีด์ย่อมข่มขี่โทโสให้ม้วยมร
     กรุณาเป็นโยธาเบื้องขวาทับสำหรับรักษาสโมสร  มุทิตาเป็นโยธาซ้ายประกรณ์ไม่ย่อหย่อนต่อภัยสิ่งใดมา  เสนามารชาญองค์อะลงการก้แผ่พรหมวิหารอุเบกขา  ย่อมประหารมารม้วยให้มรณาคือปัญญาดังดวงมณีนิล  สำหรับส่องช่องมืดให้สว่างแจ่มกระจ่างคือดวงพระกสิน  ที่มืดมนอันทะการก็สูญสิ้นสุดสว่างกระจ่างใจ  เสด็จขึ้นนั่งเหนือหลังสิ้นทบชาติ  คืออิทธิบาททั้ง ๔ จะมีไหนผ่อนชักอาฌาพาเดินดำเนินไป  หนทางใหญ่ คือ อัฎฐังคิกมรรคา  ผลทานเป็นเสบียงลำเลียงส่งให้ข้ามดงแดนเขตกิเลสอันแน่นหนา  สัจจังตั้งไว้ให้นำพาวิริยะอุปถัมภ์เข้าค้ำชูไม่ย่อหย่อนผ่อนชักอาฌาชาญ  เสนามารแลเห็นก็อดสูพระยามัจจุราชก็ไม่อาจจะแลดู  ปิดประตูจตุราไม่อาวรณ์วิริยะล้ำเลิศประเสริฐนัก  เป็นแหล่งหลักปักแน่นไม่หลุดถอนดังหนึ่งปันพะตาพระเมรุทร ไม่ย่อหย่อนท้อถอยจากความเพียรสมาธิมั่นคงดำรงทาง   วิปัสสนาแผ้วถางซึ่งหนามเสี้ยน  สติปัฏฐาน ๔หนทางเตียน  ไม่วนเวียนพาส่งตรงนิพพานคือเมืองแก้วที่สถิตย์ผู้วิเศษ สิ้นกิเลสหมุนไหม้ในสงสารเสวยรมณ์ชุมสุขทุกประการ  ดับสังขารดับชาติสะอาดครัน สุขอันใดที่จะสุขเหมือนเมืองแก้วสุขยิ่งแล้วล้ำเลิศยิ่งทุกสิ่งสรรค์ พ้นวิสัยใครเลยจะตามทัน  เป็นมะหันตะมะโหโอราฬาร  สัปบุรุษสุจริตศรัทธาแท้อย่าเหลียวแลลุ่มหลงในสงสาร  เสวยรมณ์ชมสุขกิเลสมารย่อมสาทานทนทุกข์สุขไม่มี../


บทสวด พรหมา
     พรหมา จะโลกา ธิปะติ สะหัมปะติ กัตอันชะลี อันธิวะรัง อะยา จะถะ สันติธะ สัตตาป ปะระชักขะ ชาติกาเทเสตุธัมมัง อนุกัมปิมัง ปะชัง..
      (แปล) ท้าวสหัม บดีพรหมเอกบรมพรหมโสฬส  รู้คสวามตาปรากฏลือทั่งหมดในโลกสาม  เจ้าชายสิทธัสถะทรงสละโลกีย์กาม  บรรพชาพยายามแสวหาโพธิญาณ  ท่านพบแล้วแก้วประเสริฐของล้ำเลิิศใครเปรียบปาน  อมตะพระนิพพานโพธิญาณสัพพัญญู  หกพรรษาหามรรคผลพระทศพลตรัสรู้  ไม่มีอาจารย์ครูท่านผู้รู้คือพุทโธ  พุทโธโพธสัตว์พรหมน้อมหัตนะมัสโส  เศียรค้อมน้อมมะโนขอพุทโธโปรดประทาน  นิมนต์พระคุณเจ้าโปรดชี้กล่าวคำบรรหาร  แสดงธรรมคำวิจารณ์จงประทานเทศนา  สั่งสอนสัตว์กำจัดทุกข์บอกทางสุขแก่เทวดา  ทั่วเทพมนุษย์สาโปรดเมตตาสัตว์ผู้ยาก  โปดให้ได้รับสุขกำจัดทุกข์ผู้ลำบาก  อวิชชาหนาแน่นมากสัตว์ลำบากเพราะเวรกรรม 
        พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งช่วยแสดงช่วยแนะนำ  นำสัตว์ตัดเวรกรรมเอาพระธรรมมาแจกจ่าย  ผู้ใดปฏิบัติย่อมกำัจัดพวกมารร้าย  พระองค์ทรงนำให้  บอกทางไว้ไปสวรรค์ทางดีนี้ทางสุข  ทางที่ทุกข์อย่าบุกบั่น  ทางธรรมสำราญครันเกษมสันต์สุขสบาย  เราท่านทั้งหลายเอยอย่าหลงเลยจนลืมตาย  ตายจริงทั้งหญิงชายทั้งร่างกายก็สูญเปล่า  ถมพื้นปฐพีถึงจนมีทั้งเราเขา มีทรัพย์นับสำเภาไม่ได้เอาติดตัวไป  เนื้อเลือดของเราแท้ต้องทิ้งแน่เข้ากองไฟ  บุญกรรมนำติดไปพวกเราไซร้ลองคิดดู../